ข้อคิด

ไฟในอย่านำออก..ไฟนอกอย่านำเข้า อย่านำเรื่องนอกบ้านมาใส่ใจให้เสียเวลา

แง่คิดวันนี้อยู่ในหมวดบทความความรัก เกี่ยวกับประโยคหนึ่งที่คงเคยได้ยินกันมาบ้าง คือ “ความในอย่ านำออกความนอกอย่ านำเข้า” แม้จะเป็นเรื่องที่น่าจะเข้าใจไม่ย าก แต่ในชีวิตจริง มีทั้งคนไม่เข้าใจ และเข้าใจแต่ทำ

ไม่ได้ ทั้งที่มันอาจกลายเป็นการบ่อนทำลายชีวิตคู่ได้อย่ างจริงจัง

ความในอย่ านำออก ความนอกอ ย่ านำเข้า

บ้างก็ใช้ในอีกประโยคคือ “ไฟในอย่ านำออก ไฟนอกอย่ านำเข้า” ความหมายคือ ไม่ควรนำเรื่องราวในครอบครัว หรือในบ้านไปพูดกับคนข้างนอก และในทางกลับกันก็ไม่ควรนำเรื่องนอกบ้าน (ที่ไม่จำเป็น) มาเป็นประเด็น

ในบ้านหรือในครอบครัวตัวเอง ในประโยคที่ใช้แทนว่า “ไฟ” ด้วยเป็นตัวแทนความร้อน เช่น เรื่องร้อนแ ร ง หรือ

สิ่งไม่ดี ก็จะหมายถึงอะไรไม่ดี ๆ ในบ้านไม่ควรนำไปพูด ซึ่งจะ “ไฟใน” หรือ “ความใน” มันก็เป็นประเด็นได้ไม่ต่างกัน

เริ่มจาก “ไม่มีการพิจารณาว่าอะไรควรพูด ไม่ควรพูด”

ถ้าคนหนึ่งมองว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ “ไฟ” คือคิดไปเองฝ่ายเดียวว่าไม่น่าเสี ย หาย ไม่ใช่เรื่องรุนแรงจึงเอาไปพูดแต่คน

ในบ้านไม่เห็นด้วย มองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรพูด ก็ย่อมไม่พอใจมีปัญหากันได้

การที่แม้เป็นแค่ “ความใน” ที่อาจหมายถึงเรื่องทั่วไปเรื่องที่เราก็คิดแล้วว่าไม่น่าจะเสี ย หายก็ต้องไม่ลืมว่าเรื่องราวที่ถูกพูดต่อ ๆ กันไป ข้อความผิ ดเพี้ ยน บิดเบือนได้เสมอ จากเรื่องดี ๆ กลายเป็นไม่ดีก็มีมาแล้วโดยอย่ างยิ่ง

บนคำว่า “สนุกปาก”

แล้วก็ใช่เพียงสนุกปากคนอื่นเท่านั้นบางครั้งก็จากความสนุกปากเราเองหรืออารมณ์ที่ไม่มีความยั้งคิดจะพูดจริง

พูดเล่น พูดประชด คึกคะนองไป มันย้อนคืนไม่ได้เมื่อมันเสียหายไปแล้ว..

เหตุไม่ใช่แค่ไม่มีความยั้งคิด

ที่จริงก็ย ากจะตัดสินและพิจารณาว่า เรื่องไหนดีเรื่องไหนไม่ดี เรื่องไหนอาจจะเสียหายไม่เสี ย หาย เมื่อมองเป็นกลางแล้ว บางเรื่องเราก็ไม่รู้ตัว หรือลืมตัว พูดไม่ทันคิดกันได้บ่อย ๆ แต่ก็มีหลายกรณีที่เหตุไม่ใช่แค่ไม่มีความ

ยั้งคิด เ พ ร า ะคิดแล้วนี่แหละจึงพูดไป เพียงแต่เป็นการคิดในมุมเดียว

เช่น เมื่อเกิดความน้อยใจ ความไม่สบายใจเกี่ยวกับคนในครอบครัว เราอย ากปรึกษาใครสักคนย่อมทำได้แต่บนความเป็นจริงน้อยคนนักที่จะต้องการ “คำปรึกษาจริง ๆ” มักแค่ต้องการบ่นระบายออกไป แล้วก็เป็นได้อีกว่าการ

บ่นระบายนั้น เพียงต้องการต่อว่าคนในบ้านเพื่อความสะใจของตัวเองในเวลาอันสั้นแต่คนฟังนั้นคิดอีกอย่ าง

บ่นระบาย ไม่ใช่การปรึกษา

ทุกวันนี้การมีโลกโ ซเชี่ ย ลเน็ตเวิร์ก การบ่นระบาย หลายคนจึงทำได้ทันที เหตุอาจเ พ ร า ะ เรียกร้องความสนใจต้องการคนเข้าใจเข้าข้างซึ่งเมื่อทำโดย “ฉาบฉวย” ผลที่ได้ก็คือความห่วงใย “ฉาบฉวย” เช่นกัน รูปสติ๊กเกอร์

สักอัน หรือข้อความสั้น ๆ ง่าย ๆ อย่ าง “สู้ ๆ นะ” แท้จริงมันก็ไม่ได้แสดงว่าเขาห่วงใยใส่ใจในสิ่งที่เราโ พสท์

ลงไปได้จริง

ลองคิดดูสิว่า ถ้าแค่นั้นคือความเข้าใจ เห็นใจ ทำไมเราจึงไม่มีนักหนา?? ถ้ามันง่ายขนาดนั้น..มันจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะพิมพ์อะไรแนวนี้แล้วชดเชยทดแทนกันได้ ซ้ำมีแต่ผลเสี ย ตามมา เ พ ร า ะลึก ๆ แล้วเมื่อเราอ่ าน

มัน คนที่เราต้องการความเห็นใจ (จริง ๆ) หรืออย ากให้เขารับรู้ กระทั่งให้เขาทำอะไรสักอย่ าง เขาก็ไม่มีทาง

มาโพสท์ตอบในทำนองเห็นใจ เข้าใจได้ง่าย ๆ.. ทำไมนะหรือ?

ก็ข้อความเหล่านั้นมันมักจะ “ประชด ต่อว่า” เขาไปแล้ว แม้ไม่ใช่ตรง ๆ แค่จะบ่นว่าเสี ยใจน้อยใจก็ตามแต่สุดท้ายดูดี ๆ คนที่ถูกต่อว่าก็คือ “เขา” นั่นเอง แล้วใครล่ะจะอย ากมาตอบ.. (อาจมาตอบแบบต่อว่ากลับ

ก็ได้ ทะเลา ะกันให้คนอื่นเห็นไปอีก.. บันเทิง!) ถ้าคิดดี ๆ ได้จากตรงนี้ การคุยกันเองตรง ๆ ง่ายกว่า ดีกว่า

มาก เช่น บอกไปกับเขาต่อหน้าไปว่า “ฉันน้อยใจ..”

อีกอย่ างแม้การนำข้อความบ่นระบายบนความน้อยใจเสี ยใจเหล่านั้นโ พสท์ลงไปแล้วมีคนมาตอบให้คำปรึกษาที่สุดแล้ว ก็มักไม่ใช่สิ่งที่คนโ พสท์ต้องการ หากเป็นเรา เราอาจไม่รู้ตัว แต่เป็นคนอื่นลองทบทวนดูสิ เดี๋ยวเขา

ก็วนมาโ พสท์อะไรคล้ายเดิมใหม่ ทั้งที่คงมีคนให้คำแนะนำปรึกษาเรื่องเดิม ๆ นี้มาแล้วไปแล้วหลายสิบคน..

การเ พ ร า ะไม่มีความมั่นใจ คิดว่าการพูดออกไปจะทำให้คนอื่นเข้าข้าง เห็นใจ เรียกร้องสิ่งใดได้ สุดท้ายมันคือตรงกันข้าม

การเอาเรื่องอื่นมาพูดในบ้าน

การเอา “เรื่องนอกบ้าน” ที่เป็น “ความนอก” มาพูดในบ้าน จริง ๆ ไม่น่าจะเสียหายอะไร เ พ ร า ะคนในบ้าน

ควรเป็นคนที่เราคุยกันได้ทุกเรื่องแม้จะเป็นเรื่องที่ดูดีหรือไม่ก็ตามแต่ถ้าเรื่องนั้นเกี่ยวพันกับคนในบ้านไปด้วย

ในทำนองเช่น “ไปรู้มาว่า..”

เช่นนี้ ก็ต้องระวังอารมณ์ ระวังความคิด สอบถามกันให้ชัดเจนว่าจริงเท็จอย่ างไร และแม้จะเกี่ยวข้องจริง ก็ต้องดู

เหตุผลนั้น ๆ ซึ่งตรงนี้มันไม่ใช่แค่การพูด แต่เกี่ยวโยงไปยังการกระทำด้วย ก็ว่ากันไปโดยส่วนมากปัญหาต่อมาก็คือ พอคุยกัน (ในบ้าน) แล้ว ได้ความอย่ างไร เลยไปพูดนอกบ้านต่อ กับต้นตอที่ “ไปรู้มาว่า” นั้น ซึ่งมองดูดีๆ

นี่คือการรับรู้เรื่องราวที่ทำลายความเป็นปกติสุขชัดเจน สุภาษิตญี่ปุ่นจึงมีประโยคหนึ่งที่ว่า “เมื่อไม่รู้ ก็ไม่ทุ กข์”แต่ “ความนอก” ที่เป็นเรื่องนอกบ้านจริง ๆ ที่ไม่ควรนำเข้าก็อย่ าง เอามาพูดเพื่อประชด เสี ย ดสี เอามาเล่าเพื่อ

เปรียบเทียบกับคนในบ้าน เช่นนี้มีแต่ปัญหาแน่..